บทความสุขภาพ
โภชนาการอาหารหัวใจและหลอดเลือด

อาหารยุคใหม่ ผลิตผลที่ได้จากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเช่น แป้งขัดขาว น้ำตาลฟอกขาว สีผสมอาหาร สารกันบูด สารเติมแต่งรส ต้นทุนการผลิตต่ำ แถมคุณค่าอาหารยังน้อยนิด ทำให้คนกินขาดสารอาหารของหัวใจ ได้แก่ เกลือแร่ วิตามินต่างๆ และยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 6 และโฟเลต

ความเครียด ทำให้ร่างกายต้องใช้วิตามินซี และวิตามินบีสูงมากเป็นพิเศษ ดังนั้นการเครียดบ่อยย่อมทำให้สภาวะหัวใจพลอยกระทบกระเทือนจากการขาดวิตามินสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้ร่างกายต้องใช้วิตามินอี และวิตามินซีจากเลือดในปริมาณที่สูงกว่าปกติการกินอาหารโปรตีนจากสัตว์ในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายต้องเร่งขับแคลเซียมออกจากร่างกายค่อนข้างมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอาหารไขมันสูง ชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกาย เช่น ไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิดทรานส์

การเลือกชนิดอาหาร
เราควรเลือกรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งพบมากในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก และน้ำมันจากปลาชนิดต่างๆ ไขมันชนิดนี้จะส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าไขมันอิ่มตัว อาหารที่มีเส้นใยสูงหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ผักและผลไม้ ถั่วต่างๆ จำกัดปริมาณเกลือไม่ควรเกิน 5 กรัม หรือ 1 ช้อนชา และควรลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน เนื่องจากทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินจนนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้